โรคหอบหืด

รู้จักโรคหอบหืด  

โรคหืดเกิดจากการอักเสบของหลอดลม ทำให้มีความไวและตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นมากผิดปกติ เมื่อผู้ป่วยโรคหืดสัมผัสสิ่งกระตุ้น หลอดลมก็จะหดตัวอย่างรุนแรงจนตีบแคบ ทำให้หายใจลำบาก ไอ หอบ แน่นหน้าอกและหายใจมีเสียงวี้ด โรคหืดพบในคนทุกวัยและสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ หากพ่อแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นโรคหืด ลูกจะมีโอกาสเป็นหืดได้ 30-50% และจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 60-100% หากพ่อแม่เป็นโรคหืดทั้งคู่ เราจึงพบผู้ป่วยโรคหืดที่มีพ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยายหรือญาติพี่น้อง เป็นหืดหรือโรคภูมิแพ้อื่นๆ อยู่เป็นประจำ

   โรคหืดมีอาการอย่างไร


แน่น อึดอัดในหน้าอก หายใจลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหายใจออก ถ้าเป็นมากๆ จะต้องลุกขึ้นนั่งฟุบกับโต๊ะหรือพนักเก้าอี้และหอบจนตัวโยน มีเสียงดังฮืดๆ หรือวี้ดๆ ผู้ป่วยมักจะมีเสลดเหนียวและไอมาก อาจมีอาการคัดจมูก คันคอ เป็นหวัดและจามนำมาก่อน
มักจะเป็นตอนกลางคืนหรือเช้ามืด หรือหลังจากสัมผัสหรือทานสิ่งที่แพ้ เครียด หรือออกกำลังกายมากๆ
ส่วนใหญ่จะไม่มีไข้ ในรายที่มีไข้ มักจะเป็นร่วมกับอาการของไข้หวัดหรือหลอดลมอักเสบ


   สิ่งกระตุ้นที่พบบ่อย มีอะไรบ้าง 


สารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ อาหาร เป็นต้น
สารระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ ไอเสียรถยนต์ มลภาวะในอากาศ เป็นต้น
ยาบางชนิด เช่น ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs) แอสไพริน ยา Beta blocker ที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูง เป็นต้น
การติดเชื้อไวรัส ในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น
การออกกำลังกาย
อารมณ์ที่รุนแรงหรืออาการเครียด
การเปลี่ยนแปลงของอากาศ

   โรคหืดเกิดจากสาเหตุอะไร 


          ถึงแม้ว่าการแพทย์ตะวันตกยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริงของโรคหืด แต่ก็เป็นที่ทราบดีว่า มีการอักเสบของทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาอันซับซ้อนของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ทางเดินหายใจตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าปกติในคนที่เป็นภูมิแพ้ โดยมีดัชนีชี้วัดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ เช่น ระดับซีรั่ม IgE และ IgG แอนติบอดีที่สูงๆ ระดับ Specific IgE แอนติบอดีที่สูงขึ้น เป็นต้น

          ส่วนการแพทย์จีนได้จัดโรคหืด ให้อยู่ในกลุ่มโรคที่เกิดจากภาวะพร่องชี่หรือพร่องพลัง (气虚症) ซึ่งหมายถึง สมรรถภาพการทำงานของอวัยวะและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถดถอยลง ภาวะพร่องพลังมักจะเกิดขึ้นร่วมกันในปอด ม้ามและไต ผู้ป่วยจึงมีอาการได้หลายอย่าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะพร่องพลังจะเป็นหนักในอวัยวะใด อาทิ

พลังม้ามพร่อง (脾气虚) มักจะมีอาการหน้าซีดเหลือง ไม่มีเรี่ยวแรง ไม่อยากพูดคุย ไม่เจริญอาหาร อาหารไม่ย่อย แน่นจุกเสียดที่ท้อง มีลมในกระเพาะอาหาร ท้องเสียเป็นประจำ หรืออุจจาระหยาบไม่จับตัวเป็นก้อน ฯลฯ
พลังปอดพร่อง (肺气虚) มักจะมีอาการหายใจขัด หายใจถี่ หอบ ไอเรื้อรัง โดยเฉพาะไอแบบไม่มีแรงหรือไอตอนกลางคืน มีเสมหะมาก เสียงพูดเบาหรือค่อย เหงื่อออกง่าย ทั้งๆ ที่ไม่รู้สึกร้อน เป็นหวัดง่าย ลิ้นมีฝ้าขาวหรือลื่น ฯลฯ
พลังไตพร่อง (肾气虚) เมื่อไตอ่อนแอมากๆ ก็จะทำให้พลังในไตพร่องลง ซึ่งมักจะมีอาการหายใจขัด หายใจถี่ หอบหืด หายใจได้ไม่เต็มอิ่ม อ่อนเพลียง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง ใจเต้นแรง มีอาการบวมที่ใบหน้าและแขนขา เหงื่อออกง่าย ลิ้นมีฝ้าขาวหรือลื่น ขอบลิ้นทั้ง 2 ด้านมีรอยกดทับของฟัน ฯลฯ
          จากการศึกษาทางคลินิกในปัจจุบันยังพบว่า ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยพร่องพลังมักจะทำงานผิดปกติไปด้วย ซึ่งอาจแสดงในด้านภูมิต้านทานของร่างกายต่ำลง ทำให้ง่ายต่อการรุกรานของโรค หรือในด้านภูมิต้านทานของร่างกายตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นมากผิดปกติ ทำให้เป็นโรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยพร่องพลังจึงมีดัชนีชี้วัดการทำงาน ของระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติไปอย่างน้อย 1 ดัชนี เช่นปริมาณเซลล์ CD3 CD4 CD8 อัตราส่วนของเซลล์ CD4 ต่อ CD8 ระดับซีรั่ม IgA IgE IgG หรือ IgM แอนติบอดี เป็นต้น เมื่อภาวะพร่องพลังเรื้อรังเป็นเวลานาน ก็จะพัฒนาเป็นกลุ่มโรค ดังนี้
ระบบทางเดินหายใจ โรคหืด หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง หัวใจล้มเหลวจากโรคปอดเรื้อรัง วัณโรคปอด ฯลฯระบบทางเดินอาหาร อาหารไม่ย่อย ลำไส้แปรปรวน ฯลฯ

   การบำบัดต่อเนื่องในช่วงที่ควบคุมอาการหืดได้แล้ว สำคัญไฉน


          ถึงแม้ว่าโรคหืดก่อให้เกิดผลเสียต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตอีกหลายๆ ด้าน เช่น ต้องตื่นกลางดึก นอนหลับไม่เต็มอิ่ม ต้องลางาน เล่นกีฬาได้ไม่เต็มที่ ขาดการเรียน สมรรถภาพการทำงานถดถอยลง และเกิดการสูญเสียรายได้ อิสรภาพในการใช้ชีวิตหายไป ตลอดจนคุกคามชีวิตของผู้ป่วย ฯลฯ แต่ก็ยังมีผู้ป่วยโรคหืดจำนวนมากไม่ใส่ใจในการบำบัด โดยเฉพาะในช่วงที่ไม่มีอาการ เนื่องจากเข้าใจว่าสามารถควบคุมโรคหืดได้แล้ว แต่หารู้ไม่แม้ในช่วงที่ไม่มีอาการหืด หลอดลมก็ยังอักเสบอยู่เหมือนเดิม แต่เนื่องจากผู้ป่วยมีอาการหลอดลมตีบตันมานาน รวมทั้งสมรรถภาพการทำงานของปอดค่อยๆ ลดต่ำลง ทำให้ผู้ป่วยคุ้นเคยกับอาการผิดปกติ จนไม่รู้สึกเหนื่อยหอบ

          จากการศึกษาทางคลินิกของโรงพยาบาลรามาธิบดี เกี่ยวกับสมรรถภาพการทำงานของปอดของผู้ป่วยโรคหืดในเด็ก 255 ราย ที่สามารถควบคุมอาการของโรคหืดได้แล้วพบว่า 64.3% ของผู้ป่วย ยังมีสมรรถภาพการทำงานของปอดที่ผิดปกติ ซึ่งต่ำกว่า 85% ของค่ามาตรฐานและอีก 4% ต่ำกว่า 60% ของค่ามาตรฐาน ซึ่งจัดอยู่ในขั้นรุนแรง ผู้ป่วยเหล่านี้เมื่อติดเชื้อหวัดหรือสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ สมรรถภาพการทำงานของปอดก็จะลดลงอย่างรวดเร็วจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้น การบำบัดอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ควบคุมอาการได้แล้ว จึงมีบทบาทสำคัญต่อการบำบัดโรคหืดด้วย

   การบำบัดโรคหืดแบบองค์รวม มีข้อดีอย่างไร 


          เป็นที่ยอมรับว่า การใช้ยาขยายหลอดลมชนิดสูดดมของการแพทย์ตะวันตกในขณะที่โรคหืดกำเริบ (Attack phase) สามารถระงับอาการหืดได้อย่างรวดเร็ว ส่วนยาสเตอรอยด์ที่ใช้ในช่วงที่ควบคุมอาการได้แล้ว (Interval phase) ถึงแม้ว่าสามารถลดอาการอักเสบของหลอดลมได้ระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่อาจแก้ไขความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของโรคหืดได้ เช่น ระดับซีรั่ม IgE IgG แอนติบอดีที่สูงขึ้น ระดับ Specific IgE แอนติบอดีที่เพิ่มขึ้น หรือปริมาณเซลล์อิโอซิโนฟีล (Eosinophil) ที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น ดังนั้นการแพทย์จีนจึงนิยมให้ผู้ป่วยโรคหืด ใช้ยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณบำบัดภาวะพร่องพลังในช่วงที่ควบคุมอาการหืดได้แล้ว เพื่อบำรุงร่างกาย บำบัดภาวะพร่องพลัง ฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของปอด ม้ามและไต พร้อมทั้งปรับความสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อบำบัดต้นเหตุของโรคหืดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          การบำบัดโรคหืดด้วยวิธีผสมผสานระหว่างการแพทย์ตะวันตกและการแพทย์จีน ทำให้ผู้ป่วยโรคหืดได้ประโยชน์สูงสุดจากจุดเด่นของยาทั้ง 2 แขนง สมรรถภาพการทำงานของปอดจึงค่อยๆ ดีขึ้น

          จากการวิจัยและทดลองทางการแพทย์และเภสัชวิทยาในปัจจุบันพบว่า ยาสมุนไพรจีนที่อยู่ในรูปแบบสารสกัดเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากสามารถสกัดและควบคุมสารออกฤทธิ์ได้อย่างเข้มข้นและแม่นยำ โรคหืดหรืออาการต่างๆ ที่เกิดจากภาวะพร่องพลัง จึงค่อยๆ ทุเลาลงและอาจหายไปในที่สุด

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
Forchi   ยาแผนโบราณ ทะเบียนยาเลขที่ K 11/53


ชื่อผลิตภัณฑ์ :   Forchi
เลขทะเบียน :   K 11/53
ขนาดบรรจุ :   90 เม็ด
ลักษณะยา :   ยาเม็ด
วิธีรับประทาน :   รับประทานวันละ 3 ครั้งๆ ละ 5 เม็ด

ส่วนประกอบสำคัญ :   Huangqi, Gancao, Dangshen, Baizhu, Danggui, Shengma, Chaihu, Chenpi, Shengjiang, Dazao
สรรพคุณ :   บำรุงม้าม, ลำไส้แปรปรวน, ท้องเสียบ่อย, มดลูกหย่อน, ช่องคลอดหลวม, หอบหืด, ลดน้ำหนัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น